รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย
ผู้เขียนได้เสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยอมรับและนำไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอนกันอย่างกว้างขวางพอสมควร นักศึกษาไทยได้ติดตามศึกษาความก้าวหน้าด้านวิชาเหล่านี้ และได้นำมาเผยแพร่ในวงการการศึกษาไทย ซึ่งได้รับความนิยมมากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไปตามความคิดเห็นและความเชื่อถือของผู้รับ ในขณะเดียวกันได้มีนักคิด นักการศึกษา และครูอาจารย์ ผู้มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้จำนวนหนึ่ง ที่ได้พยายามคิดค้นหรือพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีหรือหลักการที่ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว เช่นประยุกต์จากหลักพุทธรรมหรือประยุกต์จากแนวคิดต่างประเทศ โดยพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของไทย ปัญหาความต้องการและธรรมชาติของเด็กไทย กระบวนการการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและได้รับการทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว ถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนหรือเป็นแบบแผนของการจัดการเรียนการสอนที่ผู้อื่นสามารถนำไปใช้แล้วจะเกิดผลตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบนั้นได้ นับว่าเป็นการช่วยให้แนวทางแก่ผู้ปฏิบัติ ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก
นอกจากการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งที่อยู่ในวงการการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มที่อยู่ในวงการอื่นที่ไม่ใช่การศึกษา แต่สนใจในเรื่องการจัดการศึกษา ได้เสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นกระบวนการ คือมีขั้นตอนที่เป็นไปอย่างมีลำดับชัดเจน ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ได้รับการทดลองใช้อย่างเป็นระบบและพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพตามหลักการแล้ว แต่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมไม่น้อย ผู้เขียนขอเรียกผลงานในลักษณะนี้ว่าเป็น "กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน" ดังนั้นในบทนี้ ผู้เขียนจึงจะนำเสนอในรูปแบบและกระบวนการดังกล่าวข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ
3. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น